Blocksource ความรู้ทั่วไป

มารู้จักกับ Liquid Staking หนึ่งในกระแส Crypto ที่มาแรงที่สุด

มารู้จักกับ Liquid Staking หนึ่งในกระแส Crypto ที่มาแรงที่สุด

Liquid Staking เป็นกลไกที่ทำให้ผู้ถือโทเค็น Crypto มีส่วนร่วมในการรักษาความปลอดภัยของเครือข่าย Blockchain พร้อมไปกับการรักษาและเข้าถึงสภาพคล่อง ซึ่งเป็นอีก solution ที่ช่วยแก้ปัญหาข้อจำกัดจาก Staking แบบเดิม

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับ DeFi และการ Staking คือ หลังจากนำสินทรัพย์ไปฝากบนแพลตฟอร์มแล้ว ผู้ใช้จะไม่สามารถถอนสินทรัพย์ก่อนกำหนดหรือนำสินทรัพย์ตรงส่วนนั้นไปใช้งานต่อได้ ซึ่งส่งผลให้เกิดการสูญเสียในมูลค่าเมื่อราคาร่วง รวมไปถึงสูญเสียโอกาสที่จะนำสินทรัพย์นั้นไปใช้งานต่อ

Liquid Staking ทำงานยังไง

Liquid Staking ทำงานโดยให้ผู้ใช้ฝาก Token ของตัวเองให้แพลตฟอร์ม Liquid Staking จากนั้นแพลตฟอร์มจะรวบรวม Token ของผู้ใช้และนำไป Staking ให้

ซึ่งผู้ใช้จะได้รับ Liquid Staking Tokens (LST) มาแทน ซึ่ง LST ก็คือ ใบเสร็จรับเงินในรูปแบบของโทเค็นใหม่

ซึ่งสามารถนำกลับมาแลกเป็น Token ที่ Stake ไว้ได้ อีกทั้ง Token ใหม่นี้ยังสามารถนำไปใช้งานได้โดยไม่กระทบกับเงินฝากเดิมของคุณ ซึ่งจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องของสินทรัพย์ที่ Steke ไว้

Liquid staking จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถ Stake และ ถอนเหรียญออกมาได้โดยไม่ถูกล็อก ดังนั้นมันจึงช่วยเพิ่มสภาพคล่องบน Blockchain แบบ proof-of-stake ด้วย

นอกจากนี้ liquid staking ยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับ Chain อีกด้วย

ที่มา : Chainlink

ข้อดี-ข้อเสียของ Liquid Staking

ข้อดี

  • มีสภาพคล่องมากขึ้น : Liquid Staking ช่วยให้โทเค็นอยู่ในสภาพที่เสมือนไม่ได้ถูกล็อกและสามารถ Unstake ได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ Liquid Staking Tokens ยังสามารถนำไปใช้เป็นหลักประกันได้อีกด้วย
  • ได้รับ Reward เพิ่มมากขึ้น: จากการสามารถนำ LST ไปฝากบนแพลตฟอร์มอื่น ๆ ต่อได้ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถที่จะได้รับดอกเบี้ยจากการ Stake ที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น

ข้อเสีย

  • ความเสี่ยงเรื่อง Smart Contract : Liquid Staking จะขึ้นอยู่กับความสามารถในการดำเนินการของ Smart Contract แต่ Smart Contracts ก็อาจจะมีความเสี่ยงในการเกิดข้อบกพร่องหรือโดนโจมตีได้
  • ราคาที่อาจผันผวน : ราคาของ LST ไม่ได้ผูกกับสินทรัพย์อ้างอิงที่พวกมันเป็นตัวแทน และอาจจะลดลงต่ำกว่าราคาของสินทรัพย์เนื่องจากความผันผวนของตลาดอย่างไม่คาดคิดได้
  • ค่าธรรมเนียมที่สูงกว่า : ผู้ใช้งานก็จำเป็นต้องเสียค่าธรรมเนียมส่วนหนึ่งให้แก่แพลตฟอร์มกลาง ซึ่งอาจจะมีค่าใช้จ่ายที่มากกว่าการ Stake แบบเดิมเล็กน้อย

โปรเจ็คที่เป็น Liquid Staking

Lido (LDO) : เป็นแพลตฟอร์ม staking Ether (ETH) ชั้นนำของโลก ที่มีอยู่ใน Ethereum, Solana (SOL), Polkadot (DOT) และ Kusama (KSM)

Lido ได้รับการจัดการโดย Lido Decentralized Autonomous Organisation (DAO) ตามรายงานของ Lido DAO มีหน้าที่รับผิดชอบดังต่อไปนี้:

  • การ Deploy Lido smart contracts
  • การตั้งค่าค่าธรรมเนียมแพลตฟอร์มและพารามิเตอร์โปรโตคอล
  • การสรรหาผู้ดำเนินการโหนดและตัวตรวจสอบความถูกต้อง
  • การจัดการกองทุนประกันและการพัฒนา
  • การจัดการการถอนเงิน

Rocket Pool (RPL) : Rocket Pool เป็นกลุ่ม Stake ของ Ethereum ที่เน้นการลดความต้องการด้านการเงินและฮาร์ดแวร์สำหรับการ Stake สกุลเงินดิจิทัลนี้ ปัจจุบัน ด้วยการจ่าย 32 ETH ผู้ใช้งานเดี่ยวสามารถ Stake Ethereum ได้บนโหนดของตนเอง

JibPack : เป็น decentralized staking protocol และ การวางโหนดสำหรับ JibChain (JBC) ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากความสำเร็จของ Lido

โดยมีขั้นตอนตามนี้

JibPack จะให้ User เอา JBC มา stake กับทางแพลตฟอร์ม ซึ่ง User จะได้ stJBC มา

แล้วทาง JibPack จะเอา JBC ที่ stake ไปรัน Validator Node

stJBC คือ เหรียญที่แสดงความเป็นเจ้าของครับ เหมือนว่าเราเอา JBC มาแลกกับ stJBC

reward ที่จะได้คือเหรียญ stJBC เราก็กดเคลมแล้วเอามาเปลี่ยนเป็น JBC ได้ครับ

ที่มา : JIBPACK

,JO

Leave feedback about this

  • Quality
  • Price
  • Service

PROS

+
Add Field

CONS

+
Add Field
Choose Image