ก่อนจะลงทุน เราต้องศึกษา Tokenomics ซะก่อน ไม่งั้นก็เหมือนแทงหวย เผลอๆ เราอาจจะแค่เกาะกระแสไปเฉยๆ จำไว้ว่า กระแส มันมาเร็วไปเร็ว แต่ Tokenomics คือพื้นฐานที่แท้จริง Blockly เลยขอรวมเอาทุกอย่างที่สำคัญเกี่ยวกับ digital asset ecosystem ที่จะช่วยบอกว่ามันมีค่าสำหรับนักลงทุนยังไง?
Tokenomics จะดูเกี่ยวกับเรื่อง economic ของเหรียญ อย่างเช่น จำนวนเหรียญทั้งหมด วิธีกระจายเหรียญ เอาไปใช้ทำอะไรได้บ้าง และอีกหลายอย่าง พวกนี้แหละที่จะช่วยให้คนอยากถือเหรียญและลงทุนในเหรียญนั้นๆ ต่อไปในอนาคต
เดี๋ยวเราค่อยมาแยกเป็นข้อๆ ว่ามีไรบ้าง เอาแบบเข้าใจง่ายๆ แล้วมีตัวอย่างประกอบ เวลาเราหาข้อมูล เราจะได้รู้ว่าอันไหนดี อันไหนไม่ดี

การกระจายเหรียญ (Allocation)
อันนี้ก็คือการแบ่งเหรียญไปให้อยู่ในมือคนต่างๆ เช่น ทีมงาน นักลงทุน ที่ปรึกษา หรือแม้แต่คอมมูเอง
ตัวอย่างที่ดี: โปรเจคที่เอาเหรียญไปลงเรื่องการพัฒนา ecosystem และแบ่งให้คอมมูเยอะ แสดงว่าเค้าจริงจังกับการมีส่วนร่วมและการเติบโต
ตัวอย่างที่ไม่ดี: อีกฝั่งนึง เอาเหรียญไปแบ่งทีมงาน นักลงทุน ที่ปรึกษา เยอะเกินไป แบบนี้มันอาจจะกลายเป็นว่า คนกลุ่มน้อยมีอำนาจ แล้วก็เทขายเหรียญทิ้งเอาได้ง่ายๆ

การแจกเหรียญ (Distribution)
นี่ก็คือวิธีที่เค้าเอาเหรียญไปแจกหรือขายให้คนอื่นๆ อาจจะแจกฟรี ขาย หรือแจกเป็นรางวัลก็ได้
ตัวอย่างที่ดี: แจกเหรียญแบบยุติธรรม เช่น แจกฟรีให้คนในชุมชนที่แอคทิฟ หรือเปิดขายให้ทุกคน แบบนี้มันสร้างความเชื่อถือ และทำให้คนเข้ามามีส่วนร่วมเยอะ
ตัวอย่างที่ไม่ดี: แจกเหรียญไม่แฟร์ เช่น แอบเก็บเหรียญไว้กับตัวเองเยอะๆ ซอฟรักเบาๆ แบบนี้มันทำให้คนไม่ไว้ใจ และเหรียญก็อาจจะไม่มีใครใช้

Token Generation Event (TGE)
TGE ก็เหมือนการเปิดตัวเหรียญ เค้าจะสร้างเหรียญแล้วก็แจกให้กับนักลงทุนและคนที่เกี่ยวข้อง
ตัวอย่างที่ดี: TGE ดีและโปร่งใส มีพาร์ทเนอร์เจ๋งๆ คนสนใจเยอะ ที่สำคัญคือรักษาโมเมนตัมของตลาดเริ่มแรกได้
ตัวอย่างที่ไม่ดี: TGE กะโหลกกะลา ขาดความโปร่งใส อาจทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นต่ำและผลการดำเนินงานของตลาดอ่อนแอ

ปริมาณเหรียญหมุนเวียน (Circulating Supply)
อันนี้ก็คือจำนวนเหรียญที่อยู่ในตลาดตอนนี้ ที่เราๆเทรดกันไปมาคอยหมุนเวียนในตลาด
ตัวอย่างที่ดี: คุมปริมาณเหรียญได้ดี มีเหรียญหมุนเวียนเกือบ 100% สามารถรักษาเสถียรภาพด้านราคาหรืออุปทานหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ เพื่อจัดสรรให้กับการพัฒนา ecosystem ในอนาคต
ตัวอย่างที่ไม่ดี: จำนวนเหรียญที่หมุนเวียนเพิ่มขึ้นเร็วมาก เพราะมีการปล่อยเหรียญที่เก็บไว้ออกมาขาย ทำให้ราคาเหรียญลงฮวบ ๆ คนเทขายกันกระจุย

มูลค่าตามราคาตลาด (Market Cap)
เอาปริมาณเหรียญหมุนเวียนมาคูณกับราคาเหรียญ ณ ตอนนั้น ก็จะได้มูลค่าตามราคาตลาด
ตัวอย่างที่ดี: มูลค่าตามราคาตลาดค่อย ๆ เพิ่มขึ้น บ่งบอกความสนใจและการยอมรับที่เพิ่มมากขึ้น
ตัวอย่างที่ไม่ดี: มูลค่าตามราคาตลาดสูงปลิ้น แต่ยังไม่มีใครเอาไปใช้จริงๆ แบบนี้ราคาอาจจะเกินจริง หรือ overvaluation

จำนวนเหรียญทั้งหมด (Total Supply)
จำนวนเหรียญทั้งหมดที่จะมี รวมถึงเหรียญที่ยังไม่อยู่ในตลาด
ตัวอย่างที่ดี: มีจำนวนเหรียญทั้งหมดจำกัด ทำให้เหรียญมีน้อย มีค่า demand เยอะ ราคาก็อาจจะขึ้น
ตัวอย่างที่ไม่ดี: จำนวนเหรียญไม่จำกัด หรือสามารถสร้างเหรียญเพิ่มได้ตลอด ขาด use cases แบบนี้เหรียญอาจจะเสื่อมค่าได้

Fully Diluted Value (FDV)
ก็เหมือนกับการคิดมูลค่าตามราคาตลาด (Market Cap) แต่แทนที่จะเอาปริมาณเหรียญหมุนเวียนมาคิด กลับเอาจำนวนเหรียญทั้งหมด (Total Supply) มาคิดแทน
ตัวอย่างที่ดี:
- สมมติว่า มูลค่าตามราคาตลาดของเหรียญอยู่ที่ 100 ล้านบาท
- แต่จำนวนเหรียญทั้งหมด (Total Supply) มี 1,000 ล้านเหรียญ
- FDV ก็จะเท่ากับ 1,000 ล้านเหรียญ * ราคาเหรียญละ 0.1 บาท = 100,000 ล้านบาท
In case แม้ว่ามูลค่าตามราคาตลาดจะอยู่ที่ 100 ล้านบาท แต่ FDV ที่ 100,000 ล้านบาท ก็อาจจะชี้บอกว่าราคาเหรียญมี upside ได้อีกเยอะ ถ้า มีการปล่อยเหรียญออกมาขายเพิ่ม
ตัวอย่างที่ไม่ดี:
- สมมติว่า มูลค่าตามราคาตลาดของเหรียญอยู่ที่ 100 ล้านบาท
- แต่จำนวนเหรียญทั้งหมด (Total Supply) มี 100 ล้านเหรียญ
- FDV ก็จะเท่ากับ 100 ล้านเหรียญ * ราคาเหรียญละ 1 บาท = 100 ล้านบาท
In case มูลค่าตามราคาตลาด (100 ล้านบาท) ใกล้เคียงกับ FDV (100 ล้านบาท) แบบนี้อาจจะบอกเป็นนัยว่าราคาเหรียญนั้นอาจจะถูกตั้งไว้สูงเกินจริง หรืออาจจะไม่มี upside แล้ว ถ้า มีการปล่อยเหรียญทั้งหมดออกมาขาย

Cliff
ช่วงเวลาห้ามขายเหรียญ ผู้ถือเหรียญจะถอนเหรียญออกมาไม่ได้ พอครบกำหนด Cliff แล้ว เหรียญจะทยอยปลดล็อก (Vesting) ทีละนิด
ตัวอย่างที่ดี: Cliff นาน ๆ สำหรับเหรียญทีมงาน แสดงว่าทีมงานมุ่งมั่นพัฒนาเหรียญในระยะยาว
ตัวอย่างที่ไม่ดี: Cliff สั้น ๆ ทีมงานอาจจะเทขายเหรียญทิ้งตอนปลดล็อก ทำให้ราคาเหรียญร่วง

Vesting
Vesting คือ การทยอยปลดล็อกเหรียญให้ออกมาตามช่วงเวลาที่กำหนด
ตัวอย่างที่ดี: period สำหรับการปลดเหรียญของ team หรือส่วนที่เกี่ยวข้อง เป็นแบบค่อยๆ ปลดทีละนิดล็อกนาน แสดงถึงแผนระยะยาว และไม่เทขายเหรียญทิ้งจนราคาตกฮวบ
ตัวอย่างที่ไม่ดี: ให้ปลดเร็วและเยอะเกินไป เหรียญอาจจะไหลออกมาเยอะ ราคาเหรียญดิ่งเหว

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการ (Demand)
หลักการง่าย ๆ คือ เหรียญจะมีมูลค่าก็ต่อเมื่อมีคนซื้อมากกว่าคนขาย อะไรที่ทำให้คนอยากซื้อเหรียญมากขึ้น ก็จะมีดังนี้
- การถือไว้เพื่อเก็งกำไร: หลายคนซื้อคริปโตเพื่อเก็งกำไรหรือเพิ่ม wealth หวังว่าราคาจะขึ้นในอนาคต
- คอมมู: คอมมูที่ดี จะคอยให้ความคิดเห็น แชร์ข้อมูล และช่วยให้คนอื่นๆ มารู้จักและใช้เหรียญมากขึ้น สังเกตุดูว่าคนในคอมมูรู้สึกยังไงกับเหรียญ
- การใช้งาน: เหรียญที่มีประโยชน์จริงๆ จะทำให้คนอยากใช้ ecosystem จะโตขึ้น และเหรียญจะมีค่ามากขึ้น ไม่ใช่แค่ถือเฉย ๆ แต่ต้องใช้และได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีด้วย
สรุป
การเข้าใจปัจจัย Tokenomics เหล่านี้ จะช่วยให้เราตัดสินใจได้ว่า โปรเจคคริปโตนั้นๆ มีโอกาสประสบความสำเร็จและมั่นคงในระยะยาวหรือไม่
สิ่งสำคัญคือต้องทำการศึกษาด้วยตัวเอง และพิจารณาปัจจัยเหล่านี้ก่อนตัดสินใจลงทุน
หวังว่าจะเป็นประโยชน์!
Leave feedback about this