Blocksource

Arbitrum คืออะไร : พร้อมวิธีการใช้งาน

Arbitrum คือ โซลูชันที่ใช้เทคโนโลยี Layer 2 โปรเจกต์นี้ถูกคิดค้นและพัฒนาขึ้นมาเพื่อเสริมประสิทธิภาพการทำงาน Smart Contract บนบล็อกเชนของ Ethereum ช่วยให้ Ethereum ขยายโครงข่ายและความเร็วในการทำธุรกรรม พร้อมกับเพิ่มฟีเจอร์ด้านความเป็นส่วนตัวเข้าไปด้วย

จุดประสงค์ของการพัฒนา Arbitrum ขึ้นมานั้น คือ อำนวยความสะดวกในการสร้างหรือพัฒนาโปรเจกต์บนซอฟต์แวร์ Ethereum Virtual Machine (EVM) อีกทั้งยังได้รับประโยชน์ด้านความปลอดภัยขณะทำธุรกรรมที่บล็อกเชน Layer 2 ไม่ต่างจากการทำธุรกรรมที่เชนหลัก (Layer 1)

ทั้งนี้ Arbitrum ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องบางอย่างของ Smart Contracts ที่เกิดขึ้นบนเชนหลัก เช่น การทำธุรกรรมที่ใช้เวลานาน ค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมที่สูง เป็นต้น

Arbitrum ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ช่วยประมวลผลข้อมูลซับซ้อน เรียกว่า Rollup โดยกลไกการทำงานของ Rollup ครอบคลุมตั้งแต่บันทึกรายการทำธุรกรรมที่ถูกส่งไปยังเชนหลัก (Ethereum) และจัดการข้อมูลเหล่านั้นบน Layer 2 อย่าง SideChains (บล็อกเชนที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อบันทึกและส่งชุดข้อมูลธุรกรรมเฉพาะ) กระบวนการดังกล่าวมีส่วนช่วยเรื่องประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลธุรกรรมที่บล็อกเชน Ethereum ต้องพบเจอได้

ทั้งนี้ Offchain Labs บริษัทพัฒนาโซลูชันสำหรับ Ethereum กำลังพัฒนา Arbitrum และชุดคำสั่งโซลูชันที่ช่วยขยายขนาดการทำธุรกรรมของโครงข่ายทั้งหมด โดยทีมงานที่ริเริ่มโปรเจกต์นี้ประกอบด้วย Ed Felten, Steven Goldfeder และ Harry Kalodner ทั้ง 3 คนล้วนเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีบล็อกเชน รวมทั้งมีความมุ่งมั่นตั้งใจสร้างคริปโตเคอร์เรนซีให้ดีขึ้นกว่าเดิม 

Arbitrum ทำงานอย่างไร

ข้อมูลจาก Zipmax

Arbitrum ถือเป็นอีกหนึ่งโซลูชันที่ใช้เทคโนโลยี Layer 2 ประเภท Optimistic Rollup  ซึ่งขยายโครงข่ายและขนาดการทำธุรกรรมบน Ethereum หลักการทำงานก็คือ Arbitrum จะส่งข้อมูลระหว่าง Smart Contracts บนเชนหลัก กับข้อมูลที่อยู่บน Layer 2 ของ Arbitrum

ขั้นตอนทำธุรกรรมส่วนใหญ่มักเสร็จสิ้นที่ Layer 2 โดย Arbitrum จะบันทึกรายการธุรกรรมไว้บนเชนหลัก โซลูชันนี้ช่วยให้ดำเนินการทุกอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพตลอดการทำงานภายในโครงข่าย

จากนั้นผู้ตรวจสอบหรือ Validator สามารถบันทึกการใช้ข้อมูลสาธารณะมาปรับปรุงประวัติรายการธุรกรรม รวมทั้งยืนยันความถูกต้องของธุรกรรมบนบล็อกได้ โดยจะมีโปรโตคอลกำกับดูแลว่าโค้ดรันบนแพลตฟอร์มได้ถูกต้องหรือไม่ ทั้งนี้ Arbitrum เวอร์ชันในอนาคตจะมีสองโหมดด้วยกัน ได้แก่ Sidechain และ AnyTrust channel

เมื่อว่ากันถึงกลไกการทำงานของ Arbitrum แล้ว ก็เหมือนกับบล็อกเชนอื่น กล่าวคือ โหนด (Nodes) แต่ละโหนดจะเข้ามาใช้งานที่เชน Arbitrum ได้ โดย Validator มีหน้าที่สังเกตและตรวจสอบรายการทำธุรกรรมที่เกิดขึ้น และช่วยรวมรายการธุรกรรมบนเชนหลักเข้าไว้ด้วยกัน เมื่อ Aggregators ส่งรายการธุรกรรมไปยังเชนหลัก จะได้รับรางวัลกลับมาในรูปของเงิน ETH ในขณะเดียวกัน ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมนั้นจะถูกกระจายไปยังผู้ใช้งานที่อยู่ในโครงข่ายอื่น เช่น Validators เป็นต้น

ต้องยอมรับว่าโปรเจกต์นี้เป็นก้าวสำคัญและท้าทายสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีโซลูชัน Layer 2 ไม่น้อย โซลูชันนี้เปิดโอกาสให้ Validators ทุกคนเข้าถึงการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลได้ทุกอย่าง และเห็นได้ว่า Validators คนอื่นตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลอย่างไร คราวนี้หากเกิดกรณีที่ผู้ตรวจสอบฝ่ายหนึ่งเห็นถึงความผิดปกติเกี่ยวกับการตรวจสอบธุรกรรมขึ้นมา ตรงนี้เองที่ทำให้เกิด ‘ความท้าทาย’ อันนำไปสู่การหาข้อยุติที่แท้จริง 

หากรายการธุรกรรมที่ว่าได้รับการพิสูจน์ว่าไม่ถูกต้องหรือผิดปกติจริง หรือข้อสงสัยนั้นไม่มีความเที่ยงตรง ฝ่ายผู้ตรวจสอบที่บิดเบือนหรือให้ข้อมูลไม่ตรงความจริงจะถูกริบสินทรัพย์ทันที กระบวนการดังกล่าวจึงทำให้มั่นใจได้ว่า Validators ทุกคนปฏิบัติหน้าที่ถูกต้องและเป็นธรรม ตลอดจนยอมรับผลที่จะตามมาในกรณีที่ละเมิดกฎระเบียบ

นอกจากนี้ Arbitrum ยังมี Virtual Machine เป็นของตัวเอง ชื่อว่า Arbitrum Virtual Machine หรือ AVM เปรียบเหมือนพื้นที่ที่จัดการ Smart Contracts ของแพลตฟอร์มตัวเอง โดยอยู่ด้านบน EthBridge (คอลเล็กชัน Smart Contract ที่เชื่อมต่อกับเชนของ Arbitrum) โดย Smart Contracts ของ Ethereum จะทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลสำหรับนำไปใช้รันบน AVM ต่อไป

ความเสี่ยงและความท้าทายของ Arbitrum

Arbitrum นั้นมีโอกาสที่จะได้รับความเสี่ยงจาก Smart Contract และจากอันตรายอื่น ๆ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถสูญเสียสิ่งที่ตนลงทุนไปหากเกิดเหตุกับสัญญาอัจฉริยะที่ทำงานบนแพลตฟอร์ม

เพื่อให้ผู้ยืนยันมีเวลาเพียงพอที่จะตรวจจับการทำผิดบนเครือข่าย Arbitrum ขั้นตอนการถอนพื้นฐานใช้ระยะเวลาประมาณ 7 วันทำการ ทั้งนี้ ผู้ให้บริการแบบ third-party อาจจะสามารถให้บริการถอนได้รวดเร็วยิ่งขึ้นแลกกับค่าธรรมเนียม Cross-chain system เช่น Hop Protocol อาจจะเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ที่ไม่ต้องการรอใช้บริการนาน ๆ

ทั้งนี้ สภาพคล่องต่ำใน DApps กลายมาเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ผู้ใช้งาน Arbitrum ในช่วงแรกต้องประสบ ปัญหานี้เป็นที่เข้าใจได้ เมื่อพิจารณาว่า Arbitrum One เป็น L2 Solution ที่ค่อนข้างใหม่

ฟังก์ชันของ Arbitrum

  • ผลลัพธ์เชิงบวก ในกระบวนการ Rollup Process ของ Arbitrum นั้น รายการธุรกรรมต่าง ๆ ที่ประมวลผลผ่าน Arbitrumถือว่าใช้งานได้เมื่อเกิดการทำรายการ ตัวตรวจสอบความน่าเชื่อ (Validator) สามารถโพสต์ Rollup block และตรวจสอบความน่าเชื่อถือของตัวอื่น ๆ ได้ ตัวเครือข่ายจะทำงานตามที่ต้องการตราบเท่าที่มีตัวตรวจสอบความน่าเชื่อถืออย่างหนึ่งหนึ่งตัวที่ทำงานอย่างซื่อสัตย์ต่อแต่ละแบตช์ของรายการธุรกรรม
  • การบีบอัดข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ: Arbitrum ประมวลผลสัญญาอัจฉริยะ Ethereum หลาย ๆ อันเป็นวัตถุเดียวเมื่อต้องทำการเชื่อมเข้าหาเชน กระบวนการดังกล่าวช่วยทำให้ Rollup Process ง่ายดายยิ่งขึ้น เมื่อข้อมูลเหล่านี้ถูกประมวลผล ข้อมูลชนิดเดียวที่ถูกส่งกลับไปยัง Ethereum mainnet คือรายการธุรกรรม ‘calldata’
  • ปฏิบัติต่อสัญญาอัจฉริยะ Ethereum หลายรายการเป็นออบเจกต์เดียวเมื่อเชื่อมโยงเข้ากับเชน นี้สามารถช่วยลดความซับซ้อนของกระบวนการรวบรวม เมื่อธุรกรรมเหล่านี้ได้รับการประมวลผลแล้ว ข้อมูลที่ส่งกลับไปยัง Ethereum mainnet เท่านั้นคือ “calldata” ของธุรกรรม ประกอบด้วยแฮชสำหรับบล็อกการรวบรวมที่ยืนยันแล้ว ไม่ใช่บล็อกจริง เนื่องจาก calldata มีขนาดเล็กกว่าธุรกรรมที่ได้รับ จึงสามารถประมวลผลได้อย่างง่ายดายโดย Ethereum mainnet
  • Validator subsets นี่คือฟังก์ชันที่อนุญาตให้นักพัฒนาสามารถทำให้ DApps ของตนเองทำงานผ่านการใช้ Arbitrum ได้ โดยสามารถเลือกผู้ตรวจสอบของตนเองเพื่อให้พวกเขาเลือกสิ่งที่เห็นพ้องต้องกัน การทำ Configuration ในขั้นตอน Validation ของ Arbitrum ในรูปแบบที่ทำให้เข้ากับบริยทผู้ใช้งานทำให้การสื่อสารระหว่างโหนดลดลง ทำให้ตัวแพลตฟอร์มทำงานได้เร็วขึ้น

ทั้งนี้ Arbitrum ยังมีความล่าช้าในแง่ของเวลาในการประมวลผลและสรุปผลรายการธุรกรรม

Arbitrum ใช้งานอย่างไร

การใช้งาน Arbitrum นั้นสามารถทำได้ผ่าน DApps เช่น Aave หรือ 1inch หรือสามารถเชื่อมต่อว็อลเลตเข้ากับตัวเชื่อมโทเค็นของ Arbitrum ได้ จุดประสงค์หลักของ Arbitrum คือการส่งโทเค็น ERC-20 จาก Ethereum Mainnet ไปยังเครือข่าย Arbitrum เพื่อกำจัดค่าก๊าซที่สูงเกินไป วิธีการใช้งาน ดังนี้

ชั้นตอนที่ 1. เชื่อมต่อว็อลเลตเข้ากับ Arbitrum Bridge

ลำดับแรก ต้องเข้าสู่ Arbitrum Bridge และเชื่อมต่อว็อลเลตของตน ว็อลเลตที่รองรับ Ethereum ได้แก่ MetaMask WalletConnect และ Coinbase Wallet

ขั้นตอนที่ 2. โอน ETH ไปยัง Arbitrum L2

หลังจากเชื่อมต่อว็อลเลต Ethereum แล้ว ตรวจเช็คให้ดีว่าตนอยู่บนหน้าของสกุล Ethereum ในว็อลเลตของคุณ

เลือกโทเค็น ETC-20 ที่ต้องการเชื่อมมายัง Arbitrum และเลือกจำนวน คลิก Deposit เมื่อพร้อม

คุณจะได้รับการแจ้งเตือนจาก Arbitrum ที่บอกว่ารายการธุรกรรมจะใช้เวลาสิบนาทีและคุณจะไม่สามารถถอนเงินได้จาก Ethereum เป็นเวลาแปดวัน  

จากนั้นต้องยืนยันรายการธุรกรรมจากว็อลเลตของคุณ อย่างไรก็ตาม ค่าก๊าส Ethereum อาจจะค่อนข้างสูงโดยไม่ได้ขึ้นอยู่กับมูลค่าของรายการธุรกรรม การจ่ายเงิน 30 ดอลลาร์สหรัฐเพื่อโอนเงิน 10 ดอลลาร์สหรัฐไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ดีนัก อย่างไรก็ตาม ผู้ลงทุนในคริปโตแต่ละท่านควรตรวจสอบค่าก๊าสของ Ethereum เมื่อทำรายการธุรกรรม

ขั้นตอนที่ 3. เพิ่ม Arbitrum เข้าไปในว็อลเลต

หลังจากโอนเหรียญจำนวนไปยังโปรแกรมเชื่อมแล้ว คุณจะไม่สามารถเห็นเงินในว็อลเลตของคุณบนเครือข่าย Ethereum อีก จำเป็นต้องเพิ่มเครือข่าย Arbitrum เข้าไป วิธีทำคือกด Add L2 Network ทางขวามือบน

If you want to add the Arbitrum network manually to your wallet, you need to go to your wallet

หากต้องการเพิ่มเครือข่าย Arbitrum เข้าไปในว็อลเลตด้วยตนเอง จำต้องเข้าไปในว็อลเลตก่อน จากนั้นคลิก MetaMask แล้วเลือก Ethereum Mainnet network ด้านบน จากนั้นคลิก Add network  แล้วใส่ข้อมูลดังต่อไปนี้

ว็อลเลตของคุณจะถามว่าคุณต้องการเพิ่ม Arbitrum เข้าไปหรือไม่ ให้คุณคลิก Approve

คุณต้องอนุญาต Arbitrum ให้สลับเครือข่ายบนว็อลเลตของคุณ

ขั้นตอนที่ 4. เข้าใช้งาน Arbitrum’s DApps

คุณสามารถลองใช้งาน Arbitrum One portal เพื่อดูแอ็ปพลิเคชันของ Ethereum ที่มีให้บริการใน Layer 2 ได้ เมื่อเลือกใช้งานอันใดอันหนึ่ง คุณจะเข้าไปยังหน้า DApp นั้นเพื่อเชื่อมว็อลเลตของคุณและเลือกเครือข่าย Arbitrum

Arbitrum ถือเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดเพื่อให้เสียค่า ETH น้อยลงไหม

เมื่อทราบแล้วว่า Arbitrum คืออะไร คุณสามารถตัดสินใจได้แล้วว่านี่คือ Layer 2  solution ที่ดีที่สุดทั้งสำหรับตัวคุณเองและ Ethereum portfolio ของคุณ

Layer 1 networks เช่น Ethereum และ Bitcoin  ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและการไม่มีผู้กำกับดูแลศูนย์กลางเหนือกว่าการไกลไล่สเกล Arbitrum มุ่งจะที่แก้ปัญหา Blockchain Trilemma โดยการใช้ Optimistic Rollups ซึ่งสอดรับกับทั้งสามมิติของบล็อกเชน

กลุ่มผู้ใช้งาน Ethereum เชื่อว่า zk-Roolup เป็นการแก้ไขปัญหาระยะยาวที่ดีที่สุด Arbitrum ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม L2 ที่ล้ำหน้าที่สุดจะสามารถปรับเปลี่ยนไปตามเทรนด์เทคโนโลยีเหล่านี้เพื่อยกระดับแพลตฟอร์มและทำให้มันขยายตัวได้